31.5.51

เมื่อไฟร์ฟ็อกซ์คิดการใหญ่อยากถูกบันทึกลงในกินเนสส์บุ๊ก
แคมเปญ “Firefox 3 Download Day 2008” จึงเกิดขึ้น
โดยทางโมซิลล่าได้เขียนลงในบล็อกชักชวนให้ผู้ที่ใช้งานไฟร์ฟ็อกซ์ (หรือแม้อาจจะไม่ได้ใช้งานก็ตาม)

ร่วมดาวน์โหลดไฟร์ฟ็อกซ์ 3
เพื่อให้ได้สถิติ “ซอฟต์แวร์ที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุดภายในเวลา 24 ชั่วโมง”
โดยผู้ที่อยากจะเข้าร่วมการทำสถิติครั้งนี้เพียงแค่เข้าไปที่หน้า Firefox 3 Download Day 2008
แล้วกดปุ่มเข้าร่วม (ในเว็บใช้คำว่า Pledge)
จากนั้นใส่ประเทศที่ตัวเองอยู่ และอีเมลลงไป เพื่อรอรับข่าวสาร และวันเวลาที่จะร่วมทำสถิติ

ไฟร์ฟ็อกซ์ 3 จะออกตัวจริงในเดือนมิถุนายนนี้

และปัจจุบันสถิติการใช้ไฟร์ฟ็อกซ์อยู่ที่ 39.1%


ที่มา - Mozilla Blog



16.5.51
ตามที่จั่วหัวไว้

" ยุง " ไม่ใช่ " ยุ่ง

ซึ่ง wiki อธิบายไว้ว่า
ยุง เป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น จากหลักฐานทางฟอสซิลสามารถสันนิษฐานได้ว่า ยุงมีในโลกตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์เมื่อประมาณ 38-54 ล้านปีมาแล้ว โดยปกติตัวเมียมักจะกินเลือดเป็นอาหาร ส่วนตัวผู้มักจะกินน้ำหวาน นอกจากนี้ยังเป็นแมลงที่เป็นพาหะแพร่เชื้อโรคอีกด้วย เช่น ไข้เลือดออก ยุงตัวเมียจะมีอายุประมาณ 1-3 สัปดาห์ ขึ้นกับชนิดและสภาพแวดล้อม ส่วนตัวผู้จะมีอายุประมาณ 4-5 วัน จะตายหลังจากผสมพันธุ์เสร็จ ยุงทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 3,450 ชนิด พบในประเทศไทย ประมาณ 412 ชนิด แต่ที่คุ้นเคยกันดีคือ ยุงก้นปล่อง (Anopheles) ยุงลาย (Aedes)







อ่ะ เรื่องมันมีอยุ่ว่า จริงๆ แล้ว บ้านผม ยุงแม่งโคตรเยอะ

ก็เลยหาวิธีเล่นสนุกกับมันดู

ทำให้ผมพบว่า

ยุง มันสามารถจับจิตสังหาร ได้ด้วย
คิดจะฆ่ามันเมื่อไหร่ บินหนีตลอด เฮี้ยจิงๆ

เมื่อก่อนเราเคย ฆ่ายุงด้วยการตบ(หัวยุง) ด้วย ห้านิ้ว ใช่มั้ยครับ

ผมก็ค่อยๆ ลดความโหด ลง

จากฝ่ามือ
.
.
.

เหลือ สามนิ้ว
.
.

สองนิ้ว
.

จนผมสามารถ ใช้นิ้วเดียวจิ้มยุง ถึงแก่ความตายได้

5555+

บาปกำ จิงๆ


แน่นอนครับ ว่าต้อง ลบจิตสังหารออกก่อน

โดยการทำใจให้สงบก่อนลงมือ ค๊าฟพี่น้อง


ลองเล่นดู นะครับ แค่เอานิ้ววางลงบนตัวยุงเบา มันก็เละเป็นโจ๊ก

.
.
.
.
.
.
.

จบดีกว่า




มันทำให้ผมมานั่งคิดถึง

ยุง มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่ประโยชน์(อะไรวะ)

เกิด มา ดูด เลือด แล้วก็ดับแนว

อยู่ได้ไม่เกิน หนึ่งเดือน


พลันแล้ว สมาธิมา - ปัญญาก็เกิด

ทำให้ผม คิดออกแล้ว ยุง (เฮี้ย)

ประโยชน์ของมันคือการ แพร่โรค และปรสิต
เพื่อควบคุม สิ่งมีชีิวิตอื่นอีกที

:O โอ้ สำคัญไม่ใช่น้อย

ฉะนั้น เวลาโดนใครด่า ว่าอ้ายยุง

หรือมีประโยชน์เหมือนยุง ก็ไม่ต้องน้อยใจไปนะครับ :p





ปล. บางที ผมก็อยากลองกินยุงดูเหมือนกัน มันจะเปนยังไงหว่า


etc:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%87
2.5.51




เผลอแป็บๆ ก็เรียนจบป.ตรีซะละ
รู้สึกเหมือนทุกอย่างเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน

กลับมาบ้าน ใส่เกงนักเรียนดรพิทย์ ออกไปวิ่ง ก็ยัง งงๆ
ฮ่ะๆ

ต่อไปก็เปิดเทอม เรียนต่อ

อนาคตจะเป็นยังไง มันก็น่าสนใจดีเหมือนกัน

The great thing in this world
Is not so must where we are
But in what durection
We are moving

Oliver Wendell Holmes

ไม่สำคัีญ
ว่าเราอยู่ตรงไหนกัน

โลกนี้มีสิ่งยิ่งใหญ่

ตรงเราจักมุ่งมั่นไป

ในทิศทางใด

เท่านั้น


จากหนังสือ I hate u 'ปราย พันแสง ครับ


เคยอ่านปาฐกถา ของเฮีย สตีฟ จ็อบ ว่า
ที่ต้องลาออกจากมหาล้ัยกลางคัน เพราะแกเพิ่งมารูทีหลังว่าที่บ้านไม่มีเงินส่ง
( ค่าเรียนระดับ ป.ตรี ที่เมืองนอก ค่อนข้างสูง)

หลังจากที่ตีฟ จ็อบ ลาออก ก็เลยลงเรียน พวกคอร์สทั่วไปที่เฮียแกสนใจใน U
ก็ได้เรียน เกี่ยวกับการสร้างตัวอักษร พวก san serif , serif
หลังจากนั้น อีกสิบปีต่อมา ก็ได้ใช้ความรู้นี้ ใน OS ครับ

ในปีค.ศ. 1972 จอบส์จบการศึกษาจากโฮมสตีดไฮสคูล ในเมืองคิวเปอร์ทีโน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย และได้สมัครเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยรีด (Reed College) ในเมืองพอร์ตแลนด์ มลรัฐโอเรกอน แต่ก็ต้องลาพักการเรียนหลังจากเข้าเรียนได้เพียงหนึ่งภาคการศึกษา หลายปีต่อมา ในปาฐกถาครั้งหนึ่งในพิธีสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ปีค.ศ. 2005 จอบส์ได้กล่าวว่าเขายังคงศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยรีด รวมทั้งเข้าชั้นเรียนคัดตัวหนังสือ "ถ้าผมขาดเรียนวิชานั้นไปเพียงวิชาเดียวที่วิทยาลัยรีด เครื่องแมคอินทอชคงจะไม่มีรูปแบบอักษรหลากหลาย และปราศจากฟอนต์ที่มีการแบ่งระยะห่างอย่างถูกสัดส่วนเช่นนี้" จอบส์กล่าว


แกบอกว่า อดีตจะต้องเชื่อมโยงกับอนาคตอย่างแน่นอน

ผมขอย้ําอีกครั้งหนึ่งว่า เราไม่สามารถต่อจุดใหเป็นรูปร่างไดโดยการมองไปข้างหน้า
เราจะทําไดก็ต่อเมื่อนึกถึงเวลาเราเชื่อมจุดเป็นรูปต่าง ๆ
ถ้าเราเอากระดาษปิดจุดที่เราต่อมาแล้วเราจะต่อไปข้างหน้าไม่ถูก)
ฉะนั้นขอให้เชื่อว่าจุดต่าง ๆ ที่ผ่านมานั้นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราในวันข้างหน้า



ETC


บทความที่ได้รับความนิยม

แวะมาแล้ว

ขับเคลื่อนโดย Blogger.